วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การใช้งาน sqlite เบื้องต้น

การใช้งาน sqlite เบื้องต้น

Sqlite เป็นโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลที่มีขนาดเล็กมาก และเป็นที่นิยมในการพัฒนาฐานข้อมูลในมือถือทุกค่าย ซึ่งโปรแกรม sqlite รองรับภาษา sql และรองรับภาษาไทยด้วย แต่เนื่องจาก คู่มือภาษาไทยหายาก เลยเขียนให้เพื่อนเริ่มต้นได้รวดเร็วมากขึ้น ในคอมมานด์ไลน์ คำสั่งควบคุมระบบจะขึ้นต้นด้วยจุดตามด้วยคำสั่ง และผู้ใช้งานสามารถป้อนคำสั่ง sql ได้โดยมีเครื่องหมาย “;” ระบุว่าสิ้นสุดคำสั่ง
หลังจากโหลดโปรแกรม คอมมานด์ไลน์จาก www.sqlite.org  เราจะได้ไฟล์ sqlite3.exe มาหนึ่งไฟล์

การสร้างฐานข้อมูล

                คำสั่ง sqlite <ชื่อไฟล์ฐานข้อมูล> ตัวอย่างเช่น sqlite3 testdb.dbs
                ชื่อไฟล์ฐานข้อมูล เราสามารถกำหนดนามสกุลเองได้ และถ้าไม่มีนามสกุลก็ได้ จะอยู่โฟลเดอร์เดียวกับ sqlite3 ผู้ใช้งานสามารถกำหนดตำแหน่งไฟล์ได้ โดยระบุก่อนชื่อไฟล์ เช่น D:\database\testdb.dbs
การใช้เรียกใช้งาน sqlite3   และการเปิดฐานข้อมูล
                คำสั่ง .open <ชื่อไฟล์ฐานข้อมูล>
                โปรแกรม sqlite จะทำการปิดฐานข้อมูลที่ใช้งานอยู่และเปิดไฟล์ฐานข้อมูลใหม่ ผู้ใช้งานสามารถ พิมพ์คำสั่ง sql ได้โดยมีเครื่องหมาย “;” ระบุว่าสิ้นสุดคำสั่ง
หรือรันโปรแกรม sqlite3 พร้อมกับเปิดฐานข้อมูล
                คำสั่ง sqlite3 <ชื่อไฟล์ฐานข้อมูล>  ตัวอย่างเช่น sqlite3 testdb.dbs
              โปรแกรม sqlite3 จะตรวจสอบหาไฟล์ testdb.dbs และเปิดไฟล์มาอ่าน ซึ่งถ้าไม่พบไฟล์ที่ระบุ ระบบทำการสร้างฐานข้อมูลเปล่าและสร้างไฟล์ที่ระบุให้
              หมายเหตุ ถ้ารันโปรแกรม sqlite โดยไม่ระบุฐานข้อมูล โปรแกรมกำหนดให้สร้างฐานข้อมูลบนหน่วยความจำเครื่องทันที สามารถใช้คำสั่ง .save <ชื่อไฟล์> เพื่อบันทึกฐานข้อมูลในหน่วยความจำ

คำสั่งระบบที่ใช้บ่อย

                .open <ชื่อไฟล์ฐานข้อมูล> คำสั่งเปิดฐานข้อมูลที่ระบุ พร้อมปิดฐานข้อมูลก่อนหน้า
                .database คำสั่งแสดงรายชื่อฐานข้อมูลทั้งหมดในไฟล์ จะมี สองค่าเริ่มต้น คือ main เป็นชื่อที่กำหนดขึ้นถ้าไม่ระบุชื่อฐานข้อมูล และ temp ฐานข้อมูลทำงานขณะรันคำสั่ง sql

                .dbinfo <ชื่อฐานข้อมูล> คำสั่งแสดงรายละเอียดฐานข้อมูล ถ้าไม่ระบุชื่อระบบแสดงรายละเอียดฐานข้อมูล main
              .backup <ชื่อฐานข้อมูล>  <ชื่อไฟล์> สำรองข้อมูลของฐานข้อมูล ลงในไฟล์ที่กำหนด ถ้าไม่ระบุจะเหมือนคำสั่ง .clone ที่จะสำรองข้อมูลของฐานข้อมูล main
             .clone <ชื่อไฟล์> สำรองข้อมูล main ลงในไฟล์ที่กำหนด

 .table หรือ .tables แสดงรายชื่อตารางในฐานข้อมูลทั้งหมด
.schema <ชื่อตาราง>  คำสั่งแสดงรายละเอียดตาราง โดยระบุเป็นคำสั่งsql  create table
                                ถ้าไม่ระบุชื่อตารางระบบทำการแสดงรายละเอียดตารางทั้งหมดในฐานข้อมูลที่กำลังใช้งานอยู่
                .indexes <ชื่อดัชนี>  คำสั่งแสดงรายละเอียดของดัชนี (อินเด็กซ์ ) ที่ระบุ หรือแสดงรายชื่อดัชนีในกรณีไม่ระบุชื่อ
                .trace <ชื่อไฟล์คำสั่งเริ่มต้นบันทึกคำสั่งต่างๆ ที่เรียกใช้ ในรูปแบบภาษา sql และเขียนไฟล์เมื่อใช้คำสั่ง .trace off  หมายเหตุ ถ้ามีไฟล์เดิมอยู่ระบบทำการเขียนทับไฟล์เดิมทันที
                .output <ชื่อไฟล์> คำสั่งเริ่มต้นบันทึกการแสดผลลงในเท็กซ์ไฟล์ที่ระบุ และเขียนไฟล์เมื่อใช้คำสั่ง .output ซึ่งระบบจะทำการแสดงผลทางหน้าจอ หมายเหตุ ถ้ามีไฟล์เดิมอยู่ระบบทำการเขียนทับไฟล์เดิมทันที
                .save <ชื่อไฟล์> คำสั่งบันทึกข้อมูลจากหน่วยความจำลงในไฟล์ จากที่รันโปรแกรมโดยไม่ระบุฐานข้อมูล



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น